ICMP

ICMP (Internet Control Message Protocol) ซึ่งมักถูกใช้งานโดยผู้ดูแลระบบเครือข่าย รวมทั้งยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบการทำงานผิดพลาดของระบบเครือข่าย รวมถึงการตรวจสอบการถดถอยของประสิทธิภาพของอุปกรณ์หรือโหนด ซึ่งอาจจะเป็นตัว PLC หรือ รีเลย์ป้องกันในระบบควบคุมระบบไฟฟ้าก็ได้ สืบเนื่องจากโปรโตคอล ICMP เป็นโปรโตคอลขนาดเล็กดังนั้นสามารถนำมาใช้สะท้อนประสิทธิภาพการสื่อสารของตัวโหนดได้โดยการตรวจวัดเวลาการตอบสนองของ ICMP

การเกิดมีข้อผิดพลาดในเครือข่าย เช่น อุปกรณ์เครือข่ายชำรุด นั้นอาจทำให้โหนดปลายทางนั้นเกิดการล้มเหลวในการติดต่อ เป็นได้ทั้งแบบถาวรหรือชั่วขณะ ซึ่งอาจเกิดจากเส้นทางที่ส่งข้อมูลมีการใช้งานหนาแน่นจนเกินไป ดังนั้นจึงได้มีกลไกที่ได้ออกแบบใช้งานบนโปรโตคอล ICMP เพื่อรายงานความผิดพลาด หรือรายงานสภาวะของเครือข่าย และนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพและการทำงานของเครือข่ายได้โดยระบบจัดการเครือข่ายหรือผู้ดูแลระบบ

 

หลักการทำงาน

                                         
 
                                          
 
 
 

รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล  ICMP จะทำควบคู่กับโปรโตคอล IP ในระบบเดียวกัน และข้อความต่าง ๆ ที่แจ้งให้ทราบจะถูกรวมอยู่ภายในข้อมูล  IP Packet อีกทีหนึ่ง หรือ เป็นผู้รายงานความผิดพลาดในนามของ IP เมื่อโปรโตคอลเกิดความผิดพลาดโดยไม่สามารถกู้คืนได้  Packet  ก็จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้    

  • ยกเลิก Packet แล้วรายงานความผิดพลาดกลับมายังผู้ส่ง ข้อความที่ส่งไปนั้นก็จะถูกทิ้ง
  • การแจ้งหรือแสดงข้อความจากระบบ เพื่อบอกให้ผู้ใช้ ทราบว่า เกิดอะไรขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลนั้น 
  • โปรโตคอล ICMP ยังถูกเรียกใช้งานจากเครื่อง Server และ Router อีกด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ควบคุม
  • เมื่อมีการส่งผ่านข้อมูลจากผู้ใช้ไปยังปลายทางที่ไม่ถูกต้อง หรือขณะนั้นเครื่องปลายทางเกิดปัญหา  จนไม่สามารถรับ   ข้อมูลได้
  • Router จะส่งข้อความแจ้งเป็น ICMP Message ที่ชื่อ Destination Unreachable ให้กับผู้ส่งข้อมูลนั้น นอกจากนี้ตัวข้อมูลที่แจ้งข้อความ จะมีส่วนของข้อมูล IP Packet ที่เกิดปัญหาด้วย
  • โปรโตคอล ICMP จึงกลายมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยทดสอบเครือข่าย เช่น คำสั่ง Ping ที่เรามักใช้ทดสอบว่าเครื่อง Server ที่ให้บริการหรืออุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นยังทำงานเป็นปกติหรือไม่

 

 

ประโยชน์และการประยุกต์ใช้งาน

            •  การตรวจสอบระบบในเครือข่ายเพื่อบำรุงรักษาก่อนที่อุปกรณ์นั้นจะทำงานล้มเหลวเป็นต้น

            •  ช่วยแก้ปัญหาในการค้นหาที่อยู่ Ethernet ของข้อมูลที่ใช้การกำหนดที่อยู่แบบ IP แต่ถ้าทราบที่อยู่เป็นแบบ Ethernet แล้วต้องการ

       แปลงที่อยู่เป็น IP จะทำอย่างไร ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเครื่อง Computer ที่เริ่มทำงานด้วยการอ่านข้อมูลทั้งหมดจากเครื่อง Host       (Diskless  Workstation ) เครื่องประเภทนี้จะทราบเพียงที่อยู่ Ethernet ของตนเองจากอุปกรณ์สื่อสารเครือข่ายเท่านั้น

             •  เมื่อผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตอยากรู้ว่าโฮสต์ที่ตนเองจะติดต่อมีตัวตนและเชื่อมโยงเส้นทางไปถึงได้หรือไม่ เรามีคำสั่งง่าย ๆ คำสั่ง

             หนึ่ง คือคำสั่ง ping คำสั่ง ping ใช้โปรโตคอล ICMP เพื่อส่งไปยังปลายทางแล้วส่งคำตอบกลับมา

             •  ในมหาวิทยาลัยใช้ระบบเครือข่าย LAN ถ้า LAN เกิดข้อผิดพลาดหรือล้มเหลว เราก็ สามารถนำ ICMPมาช่วยเหลือระบบได้

             •  เราทราบกันอยู่แล้วว่า ICMP เป็นส่วนหนึ่งของ IP จึงสามารถเชื่อมโยงการสื่อสาร ข้อมูลระหว่าง WAN และ LAN ที่มีรูปแบบเครือ

            ข่ายต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบ Ethernet Token Ring หรือ StarLan หรือแม้แต่การเชื่อมต่อโดยใช้โมเด็มเข้าสู่ครือข่าย Internet

 

สรุป

       ICMP  มีคุณสมบัติมากมาย และยังมีขนาดเล็ก ดำเนินการได้รวดเร็ว ดังนั้นการที่สามารถนำ ICMP มาประยุกต์ใช้ได้จะมีประโยชน์ต่อระบบงานเป็นอย่างมาก เช่น การตรวจสอบระบบในเครือข่ายเพื่อบำรุงรักษาก่อนที่อุปกรณ์นั้นจะทำงานล้มเหลว

     Internet Control Message Protocol (ICMP) คือกลุ่มของ message ซึ่งให้บริการร่วมกับ IP แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ IP              ICMP  เป็นเพียงโปรโตคอลสนับสนุนที่ช่วยให้ระบบทำงานดียิ่งขึ้น เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการส่งข้อมูลและสื่อสาร ซึ่งทำงานใน    Layer 3  ประกอบด้วยบริการและ Message ต่างๆต่อไปนี้วินิจฉัย (Echo and Echo Reply messages) การส่งรายงานข้อผิดพลาด(Destination Unreachable, Time Exceeded, Source Quench,และRedirect messages) , Router discovery (Router Advertisement and Router Solicitation messages), IP header problems (Parameter Problem message), and address mask discovery (Address Mask Request and Address Mask Reply messages). ICMP Destination Unreachable-Fragmentation เป็นการกำหนดข้อความ

 

อ้างอิง

[1.] Andrew S. Tanenbaum. Computer Networks. หน้า32-35 , 432-434 , 463-465. 

 [2.] M.Gupta,Ed.(2006).Internet Control Message Protocal(ICMPv6).ค้นเมื่อ  5  กุมภาพันธ์  2556, จาก     http://tools.ietf.org/html/rfc4443.

[3.] ชวลิต  ทินกรสูติบุตร &ทีมงาน.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ โปรโตคอล TCP/IP.ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2556, http://www.tnetsecurity.com/content_basic/tcp_ip_knowledge.php.

[4.] พิชิต จินตโกศลวิทย์.(2012).มารู้จักกับโปรโตคอล ICMP.ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2556,จาก

http://thailandindustry.com/guru/view.php?id=15948&section=9.

[5.] เรืองไกร รังสิพล. เจาะระบบ TCP/IP : จุดอ่อนของโปรโตคอลและวิธีป้องกัน . บริษัท โปรวิชั่น จำกัด. 2001.

 

 

 

 

(เยี่ยมชมทั้งหมด 241 ครั้ง, วันนี้ 1 ครั้ง)
Facebooktwittergoogle_plusredditpinterestlinkedinmail

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

ข้ามไปยังทูลบาร์