Best Practice : การจัดทำนิตยสารนาวิกศาสตร์

ผลงานวิธีหรือแนวทางปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) : 

การจัดทำนิตยสารนาวิกศาสตร์ 

 

. เกริ่นนำ

กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต

นิตยสารนาวิกศาสตร์เป็นนาวิกศาสตร์ของกองทัพเรือ มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี เดิมเป็นการจัดทำในลักษณะช่วยกันเขียน ช่วยกันอ่าน จนถึงปัจจุบันกล่าวได้ว่านิตยสารนาวิกศาสตร์ มีกระบวนการจัดทำที่ชัดเจน มีระเบียบรองรับทำให้การทำงานชัดเจน ทั้งการลงมือปฏิบัติ และในเรื่องของเนื้อหาสาระที่จำเป็นต้องมี แต่กระนั้นก่อนหน้านี้ก็ยังประสบปัญหาในเรื่องของระยะเวลาทำให้จัดทำไม่สามารถเสร็จทันกำหนดส่งสมาชิกในแต่ละเดือน

 

สภาพทั่วไป

ในการจัดเตรียมบทความสำหรับลงพิมพ์ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ ทางกองบรรณาธิการจะดำเนินการเตรียมการล่วงหน้า เป็นเวลา ๒ เดือน

ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ในปี ๒๕๖๐ ผู้จัดทำรายงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศในครั้งนี้ได้รวบรวมและเรียบเรียงกระบวนการจัดทำนิตยสารนาวิกศาสตร์จากผู้ปฏิบัติจริง มีการประชุมหาข้อสรุปร่วมกันเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติให้สามารถลดการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนจนสามารถจัดทำนิตยสารนาวิกศาสตร์ออกแจกจ่ายสมาชิกได้ทันกำหนด

วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในผู้ปฏิบัติงานจริงให้สามารถจัดทำนิตยสารนาวิกศาสตร์ออกแจกจ่ายสมาชิกได้ทันกำหนด

เป้าหมาย

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของกระบวนการ

๑. ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อนิตยสารนาวิกศาสตร์; ค่าเป้าหมาย : ≥๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕ 

๒. สมาชิกฯ ได้รับนิตยสารนาวิกศาสตร์ ; ค่าเป้าหมาย : ภายในวันที่ ๒๐ ของทุกเดือน

 

. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ) ของ วิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ขั้นตอนการจัดทำนิตยสารนาวิกศาสตร์

ขั้นที่ ๑   ธุรการ สน.รนภ.บก.ยศ.ทร. รับต้นฉบับบทความทางเอกสาร/E – mail/ไปรษณีย์ โดยลงเลขที่รับ วัน เวลา และเขียนลงสมุด รับ – ส่งบทความ เพื่อนำเสนอบรรณาธิการนิตยสารนาวิกศาสตร์ และผู้ช่วยบรรณาธิการฯ ตามลำดับ

ขั้นที่ ๒   บรรณาธิการนิตยสารนาวิกศาสตร์ และผู้ช่วยบรรณาธิการฯ พิจารณาคัดเลือกบทความในเบื้องต้น เพื่อเตรียมนำเสนอนายกกรรมการฯ คณะกรรมการฯ และที่ปรึกษาฯ พิจารณาและอนุมัติบทความลงพิมพ์ในนิตยสารนาวิกศาสตร์

ขั้นที่ ๓   ผู้ช่วยบรรณาธิการฯ จัดทำสารบัญนิตยสารนาวิกศาสตร์ และแผนกนาวิกศาสตร์จัดวาง Dummy

ขั้นที่ ๔    ธุรการ สน.รนภ.บก.ยศ.ทร. จัดทำหนังสือเชิญประชุมและส่งบทความเพื่อพิจารณาฯ (เอกสารหรือซีดี) ไปยังนายกกรรมการฯ คณะกรรมการฯ และที่ปรึกษา จัดเตรียมข้อมูล/เอกสารการประชุมและความพร้อมต่าง ๆ ในการประชุมพิจารณาบทความ  จัดทำรายงานการประชุม การจัดเลี้ยงอาหาร

ขั้นที่ ๕   นายกกรรมการราชนาวิกสภา คณะกรรมการราชนาวิกสภาและที่ปรึกษาราชนาวิกสภา และประจำกองบรรณาธิการนิตยสารนาวิกศาสตร์ ประชุมพิจารณาบทความและอนุมัติบทความลงพิมพ์ในนิตยสารนาวิกศาสตร์

ขั้นที่ ๖   เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร พิสูจน์อักษรบทความและคอลัมน์ประจำตามที่ได้รับมอบหมาย ตั้งแต่ Paper ที่ ๑ – ๓ โดยตรวจความถูกต้องของภาษา การสะกดคำ และความเหมาะสม ชัดเจนของรูปภาพประกอบต่าง ๆ ให้ถูกต้องเรียบร้อย

ขั้นที่ ๗   เจ้าหน้าที่จัดวาง Art Work จัดวางบทความและคอลัมน์ประจำ ตั้งแต่ Paperที่ ๑ – ๓ โดยประสานกับเจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร เพื่อแก้ไขคำถูกผิด และรูปภาพประกอบต่าง ๆ ให้ถูกต้องเรียบร้อย (Paper ที่ ๓ เป็นสี)

ขั้นที่ ๘   บรรณาธิการฯ ตรวจความถูกต้องในPaper ที่๓ และอนุมัติเพื่อนำส่ง กรพ.สบ.ทร.

ขั้นที่ ๙   เจ้าหน้าที่จัดวาง Art Work แก้ไขคำถูกผิด และรูปภาพประกอบต่าง ๆ ให้เรียบร้อย และแปลงบทความและคอลัมน์ประจำทั้งหมด เป็นไฟล์ Portable  Document  Format (PDF) ใน Paper ที่ ๔

ขั้นที่ ๑๐  ผู้ช่วยบรรณาธิการฯ ตรวจพิสูจน์อักษรและความถูกต้องอีกครั้ง (บทความและคอลัมน์ประจำทั้งหมด) ในPaper ที่ ๔ (ไฟล์PDF)

ขั้นที่ ๑๑  แผนกนาวิกศาสตร์ ส่งต้นฉบับ (บทความและคอลัมน์ประจำ) นิตยสารนาวิกศาสตร์ (ไฟล์PDF) ให้ กรพ.สบ.ทร.

ขั้นที่ ๑๒  แผนกนาวิกศาสตร์ รับLayout นิตยสารนาวิกศาสตร์ จาก กรพ.สบ.ทร. นำเสนอ บรรณาธิการฯ เพื่ออนุมัติจัดพิมพ์ และนำส่ง กรพ.สบ.ทร. ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มนิตยสารนาวิกศาสตร์ต่อไป

ขั้นที่ ๑๓  แผนกนาวิกศาสตร์ ส่งLayout ที่ได้รับอนุมัติจากบรรณาธิการฯ ส่งให้ กรพ.สบ.ทร. จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม

ขั้นที่ ๑๔  แผนกนาวิกศาสตร์ รับนิตยสารนาวิกศาสตร์ จาก กรพ.สบ.ทร. จัดส่งทางไปรษณีย์และแจกจ่ายตามหน่วยงานต่าง ๆ

ขั้นที่ ๑๕  แผนกนาวิกศาสตร์ ทำการประเมินความพึงพอใจและไม่พึงพอใจต่อนิตยสารนาวิกศาสตร์ ปีละ ๑ ครั้ง พร้อมวิเคราะห์ข้อมูล สรุป เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

 

 

 

.  ผลการดำเนินการ

สามารถผลิตนิตยสารนาวิกศาสตร์ เผยแพร่บทความด้านต่างๆ ของ ทร. เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือกับกำลังพลในสังกัด และประชาชนทั่วไป  บทความมีประโยชน์ น่าสนใจน่าอ่าน ทำรูปเล่มได้สวยงามทันสมัย สมาชิกได้รับนิตยสารนาวิกศาสตร์ได้ตรงตามกำหนดเวลาในแต่ละเดือน

 

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้ว ส่งผลต่อ หน่วยงาน อย่างไร

สามารถผลิตนิตยสารนาวิกศาสตร์ ที่มีบทความมีประโยชน์ น่าสนใจน่าอ่าน ทำรูปเล่มได้สวยงามทันสมัย สมาชิกได้รับนิตยสารนาวิกศาสตร์ได้ตรงตามกำหนดเวลาในแต่ละเดือน เป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจของผู้ปฏิบัติงาน

 

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้ว ส่งผลต่อ ทร. อย่างไร

สามารถผลิตนิตยสารนาวิกศาสตร์เผยแพร่ผลงานด้านต่างๆ ของ ทร. เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง     กองทัพเรือกับกำลังพลในสังกัด และหน่วยงานใน ทร. ที่มีงานลักษณะคล้ายกันสามารถนำไปปรับใช้ได้

 

. บทเรียนที่ได้รับ

การประชุมหารือร่วมกันของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำนิตยสารนาวิกศาสตร์ทำให้สามารถแก้ไขปัญหา และปรับปรุงการทำงานที่ได้ผลเป็นอย่างดี

 

 .  ปัจจัยความสำเร็จ

มีการอบรมความรู้ที่จำเป็นให้กับผู้ปฏิบัติงาน เช่นการอบรมโปรแกรมโฟโต้ชอบให้กับเจ้าหน้าที่ทำอาร์ตเวิร์ค  มีการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น มีการจัดทำคู่มือเพื่อให้ผู้ที่มาปฏิบัติงานในอนาคตสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง

         

๖. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ  และรางวัลที่ได้รับ

มีหน่วยงานนอก ทร. ขอมาเยี่ยมชมการจัดทำนิตยสารนาวิกศาสตร์

 

ผลงานวิธีหรือแนวทางปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ฉบับสมบูรณ์ คลิก แบบรายงานbpปี-60 complete

 

 

(เยี่ยมชมทั้งหมด 132 ครั้ง, วันนี้ 1 ครั้ง)
Facebooktwittergoogle_plusredditpinterestlinkedinmail

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

ข้ามไปยังทูลบาร์