หลักการและเหตุผลในการจัดทำองค์ความรู้
เนื่องจาก โรงเรียนชุมพลทหารเรือเกิดปัญหาในการเรียนการสอน คือ นักเรียนใช้เวลาในการเบิกคืนอาวุธประจำกายมากเกินไป สืบเนื่องมาจากตามตารางเรียนในวันจันทร์ของทุกสัปดาห์ จะมีการฝึกวิชาทหารราบในห้วงเวลา ๑๕๐๐-๑๖๐๐ ซึ่งเป็นเหตุให้ทางกองนักเรียน ต้องทำการเบิกคืนอาวุธหลังรับประธานอาหารกลางวัน ตั้งแต่เวลา ๑๒๓๐ เป็นต้นไป ด้วยเหตุที่ว่า กองนักเรียนใช้เวลาในการเบิกคืนอาวุธประจำกาย มากเกินไป จึงทำให้มีผลกระทบต่อวิชาเรียนในภาคบ่ายทำให้ ไม่ได้รับความรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และ บุคลากรที่ให้ ความรู้ไม่ได้ถ่ายทอดตามแผนที่ตนได้วางเอาไว้ ทางกองนักเรียนจึงมีแนวคิดในการออกแบบระบบเบิกคืน อาวุธประจำกายที่มีประสิทธิภาพในการลดเวลาในการเบิก รวมถึงเพิ่มเติมประสิทธิภาพ ต่าง ๆในอนาคต
ลักษณะสำคัญของวิธีการ
แนวคิดเริ่มมาจาก การใช้ การตรวจสอบข้อมูลด้วยบาร์โค้ดที่เห็นตามห้างร้านต่าง ๆ โดยจะจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล และใช้การสแกนบาร์โค้ดเพื่อ ดึงข้อมูลมาใช้ และทำการเขียนโปรแกรมเพื่อ บริหารจัดการข้อมูลในการเบิกจ่าย รวมถึงการสรุปผล เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชา เรื่อง จำนวณในการเบิกคืน สถาณภาพอาวุธประจำกาย เพื่อวางแผนในอนาคต
แนวทางที่เป็น BP
ในขั้นต้นการใช้ บาร์โค้ด มีปัญหาในการใช้ เนื่องจาก สามารถเก็บข้อมูลได้น้อย และเครื่องมือในการตรวจสอบมีความจำเพาะ (เครื่องสแกนบาร์โค้ด) และมีความยุ่งยากในการตรวจสอบ ทางกองนักเรียน ได้พัฒนาไปใช้ คิวอาร์ โค้ด แทน บาร์โค้ด ในการตรวจสอบข้อมูลเนื่องจาก คิวอาร์ โค้ด มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่ารวมถึงมีขนาดเล็กและสามารถใช้อุปกรณ์ในการตรวจสอบ ได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ และมีการตรวจสอบข้อมูลผ่าน แอพพลิเคชั่น และ เว็บไซต์ รวมถึงสามารถสรุปข้อมูลให้ผู้บังคับบัญชาได้
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อลดเวลาในการเบิกคืนอาวุธ
- เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลให้ผู้บังคับบัญชา
- เพื่อให้กำลังพล ในกอนักเรียนมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
การเบิกคืนอาวุธแบบเดิมนั้นมีขั้นตอนดังนี้ (นรจ. ภาคละ ๔๐ นาย รวม ๒๔๐ นาย)
- นรจ.ลงชื่อในสมุดเบิก ใช้เวลา ๗ นาที
- นรจ.ไปนำปืนจากคลังใช้เวลา ๑๕ นาที
- ลงเวลา/ลงนาม เบิกอาวุธใช้เวลา ๘ นาที
- พันจ่าเวร ตรวจความถูกต้องใช้เวลา ๑๐ นาที
รวมเวลาเบิก ๔๐ นาที
แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบบาร์โค้ดในการเบิกอาวุธจะใช้เวลา ๒๐ วินาทีต่อคน ทำให้ใช้เวลาทั้งหมด ๑๔ นาที ทำให้สามารถลงเวลาได้ ๒๖ นาที
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
จากการพัฒนาการใช้บาร์โค้ดเป็นคิวอาร์โค้ด ทำให้สามารถระบุตัวตน ผู้เบิกได้อย่างชัดเจน และได้พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่น เพื่อการรวบรวมและนำเสนอทำให้เกิดประสิทธิภาพการเบิกอาวุธมากยิ่งขึ้น
กระบวนการ
เนื่องจากปัญหาความล่าช้าในการเบิกอาวุธที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ทางกองนักเรียนจึงแก้ปัญหาโดยการใช้บาร์โค้ด โดยมีขั้นตอนดังนี้
- สืบค้นรวบรวมข้อมูลการใช้ บาร์โค้ด ในการทำงานต่าง ๆ
- ศึกษาการเขียน Function barcode EAN13
- ใช้โปรแกรม Excel ในการเขียน Bar code และ ตารางเก็บข้อมูล
4. ใช้โปรแกรม Microsoft Access ในการสร้าง Database และ Form
5. นำเข้าข้อมูลจาก Excel สู่โปรแกรม Microsoft Access
การทำงานจะเหมือนกับบาร์โค้ดในร้านสะดวกซื้อ คือเมื่อทำการสแกนบาร์โค้ดจะเป็นการบันทึกข้อมูลปืนนั้นว่าได้ออกไปจากคลังแล้วโดยจะแสดงชื่อและหมายเลขจากนั้นพันจ่าเวรภาคจะทำการพิมพ์ข้อมูลเมื่อนำมาตรวจสอบ หรือเสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป ในส่วนของการคืนอาวุธก็เช่นเดียวกัน โดยเมื่อสแกนบาร์โค้ดจะบันทึกข้อมูล จากนั้นพันจ่าเวรภาคจะทำการพิมพ์ข้อมูลเมื่อนำมาตรวจสอบ หรือเสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป
เมื่อนำมาใช้งานจึงเกิดปัญหาขึ้น
- ไม่สามารถตรวจสอบบุคคลที่นำปืนออกไปว่าเป็นเจ้าของปืนนั้น ๆ หรือไม่
- การสแกนบาร์โค้ดมีมุมที่จำกัดทำให้ลำบากต่อสแกนในแต่ละครั้ง
- ขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับการติดตรงพานท้ายปืน
- อุปกรณ์เป็นแบบเฉพาะทาง มีค่าใช้จ่ายสูง
ดังนั้นจึงเกิดกระบวนการแก้ไขปัญหา โดยใช้คิวอาร์โค้ดมีขั้นตอนดังนี้
โดยมีหลักการ คือ เมื่อใช้โทรศัพท์มือถือ สแกน จะเด้งเข้าไปในเว็บไซต์ที่ได้เขียนโปรแกรม ในการเบิก-คืน อาวุธและทำการบันทึกการเบิก ถ้าต้องการจะคืนก็ทำเช่นเดียวกัน ข้อมูลทั้งหมดจะรวมเข้าไปในศูนย์กลาง และพันจ่าเวรภาคสามารถตรวจสอบหรือนำเสนอผู้บังคับบัญชาได้
โดยเมื่อใช้คิวอาร์โค้ดจะมีผลดังนี้
- เมื่อสแกนจะสามารถแสดงข้อมูล ชื่อ สกุล หมายเลข ใบหน้า ของผู้เบิกอาวุธได้
- สามารถสแกนได้ทุกมุม
- มีขนาดเล็กกว่าบาร์โค้ด
- สามารถใช้โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน ซึ่งทุกคนมีใช้อยู่แล้วในการสแกน
- สามารถสแกนปืนที่วางทิ้งไว้และรู้ได้ว่าเป็นของใคร
เมื่อ นำมาใช้งานจะเกิดปัญหาขึ้น คือ เกิดความสับสนในขั้นตอนการเบิกหรือคืน
ดังนั้นจึงเกิดกระบวนการแก้ปัญหาโดย จัดทำ แอพพลิเคชั่น เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกโดยใน แอพพลิเคชั่นจะมีปุ่มระบุชัดเจนว่าเบิกหรือคืน รวมถึงมีสถานะระบุว่า เบิกเมื่อไหร่ คืนเมื่อไหร่ รวมถึงสถาณภาพของปืน
โดยเมื่อใช้ แอพพลิเคชั่นจะมีผล ทำให้สามารถระบุได้ว่าจะเบิกหรือคืน เมื่อใช้ แอพพลิเคชั่น
โปรแกรมควบคุมการเบิก-คืนสรรพาวุธ
ชื่อโปรแกรม ระบบควบคุมการเบิก-คืนสรรพาวุธ (Weapon Store Version 1.0)
คุณลักษณะโปรแกรม
- รองรับการทำงานผ่านโปรแกรม Web browser และ Android Application
- ระบบควบคุมการเบิก-คืนสรรพาวุธ ผ่าน Web browser เป็นระบบสำหรับใช้บริหารจัดการข้อมูลด้านสรรพาวุธ และด้านกำลังพลประจำหน่วย พัฒนาด้วยภาษา PHP JAVASCRIPT มีการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล MySQL
- Application เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับ Smart Phone และ Tablet ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android พัฒนาด้วย Ionic 4 และ Angular
ความสามารถของโปรแกรม
- ระบบควบคุมการเบิก – คืนสรรพาวุธ(Web browser) เป็นระบบสำหรับบริหารจัดการข้อมูลดังนี้
- บริหารจัดการข้อมูลสรรพาวุธ
- กำหนดประเภทสรรพาวุธ
- เพิ่มรายการสรรพาวุธ พร้อมสร้าง QR Code เพื่อช่วยในการตรวจสอบผ่านโปรแกรม Scan QR Code ต่าง ๆ ได้
- สั่งพิมพ์ QR Code บัตรอาวุธ และใบลงชื่อเบิกจากระบบได้
- บริหารจัดการข้อมูลกำลังพลประจำหน่วย
- เพิ่มข้อมูลกำลังพล และทะเบียนอาวุธประจำกาย พร้อมสร้าง QR Code ข้อมูลส่วนตัว เพื่อช่วยในการตรวจสอบผ่านโปรแกรม Scan QR Code ต่าง ๆ ได้ รวมถึง QR Code สำหรับการบันทึกการเบิก – และคืนสรรพาวุธผ่าน Application
- สร้างบัตรอาวุธประจำกายสำหรับสั่งพิมพ์
- สร้าง QR Code สำหรับสั่งพิมพ์และติดที่สรรพาวุธ
- Android Application เป็นระบบสำหรับช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลการเบิก-คืนสรรพาวุธ สำหรับเจ้าหน้าที่สรรพาวุธหรือผู้ควบคุมการเบิก-คืนสรรพาวุธ รวมถึงการรายงานข้อมูลการเบิก-คืนและสถานภาพสรรพาวุธให้แก้ผู้บังคับบัญชาในแต่ละระดับชั้นได้ทราบเมื่อมีการเบิกสรรพาวุธ
กระบวนการทำงาน
ขั้นตอนการใช้งาน : คู่มือโปรแกรมควบคุมการเบิกคืนสรรพาวุธ
ทำให้สามารถแก้ปัญหาที่กล่าวมาขั้นต้น คือ นักเรียนสามารถเข้าห้องเรียนได้ทันเวลา อาจารย์สอนได้ตามตารางและแผนการสอน ครูปกครองเข้าถึงเทคโนโลยี และสำคัญที่สุดคือ เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิก-คืน อาวุธ
บทเรียนที่ได้รับ
การใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว แต่นำมารวมกัน จะทำให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
BP มีผลต่อหน่วยงาน
- การเบิกอาวุธของ นรจ. มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็ว และ ตรวจสอบได้
- เจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีได้มากขึ้น
- ผู้บังคับบัญชา สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้
- นรจ. เข้าห้องเรียนตรงตามเวลาทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามแผน
BP ส่งผลต่อ ทร.
- เป็นต้นแบบในการเบิก-คืนอาวุธของทุกหน่วย เพื่อพัฒนามาตรฐานชองแต่ละหน่วย
- เกิดแนวคิดการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการบริการจัดการแก้ไขต่างๆ
- ได้กำลังพลชั้นประทวนที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน
ผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์
-
- ผลลัพธ์ได้ระบบเบิกคืนอาวุธโดยการใช้คิวอาร์โค้ดแทนการเบิกอาวุธแบบเดิม
- อาจารย์ รร.ชุมพล สามารถสอนได้ตรงตามแผนงานที่ได้วางเอาไว้
- ผู้บังคับบัญชาสามารถ ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เกี่ยวกับการควบคุมการสรรพวุธ
- นักเรียนได้เรียนตรงตามเวลา
- สามารถผลิตนายทหารชั้นประทวน ที่มีประสิทธิภาพตามที่ทร.ต้องการ
- บริหารจัดการอาวุธในส่วนการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำเร็จของการดำเนินงาน
ปัจจัยความสำเร็จ
คณะทำงานจัดทำโครงการ ระบบเบิก-คืน และตรวจสอบอาวุธ ประกอบด้วย
๑. น.อ.กำจัด สมรรคนัฎ หัวหน้าคณะทำงาน ตร.กนร.
๒. น.ท.ชยุต ใจดีชลธร นายกราบขวา กนร.๓. น.ท.สิทธิพร เจริญวัย นายกราบซ้าย กนร.
๔. น.ท.กฤตวิทย์ จันทคณางกูร ผช.ตร.กนร.๕. ร.ท.ธงชัย จำปาศรี
๖. ร.ต.ราชรัชต์ มีสถิตย์
๗. ร.ต.ชัชชัย ตะสูงเนิน
๘. ร.ต.พงศธร พุ่มวงศ์สำเนียง
๙. ร.ต.พีรทร พิทักษ์เกียรติยศ
คณะทำงานทุกฝ่ายได้ดำเนินการตามแผนผังขั้นตอนการจัดทำ โดยใช้ระยะเวลา ในการดำเนินงานประมาณ ๓ เดือน ทั้งนี้ กระบวนการที่สำคัญมากอีกด้านหนึ่งคือ การได้รับการ สนับสนุนจากภายในคือ ผู้บังคับบัญชา กนร. แผนกวิชาเดินเรือและการเรือฯ และจากภายนอก คือ ศภษ.ยศ.ทร. กฝร. และอื่น ๆ ช่วยสนับสนุนข้อมูล รูปภาพประกอบในการจัดทำเพื่อให้ โครงการเสร็จสิ้น ถูกต้อง และมีความสมบูรณ์ จึงใคร่ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
การเผยแพร่
มีการนำผลงานไปทดลองใช้ ๒ หน่วย ได้แก่ กองพันนักเรียนที่ ๓ ศฝท.ยศ.ทร. ปัจจุบัน ยุบหน่วยไปแล้ว และ รร.จ่านาวิกโยธิน ในส่วนของ ศฝท.ทร.
รางวัลที่ได้รับ
รางวัลชนะเลิศ การประกวดสิ่งประดิษฐ์ รร.ชุมพลทหารเรือ จัดโดย กศษ. และอยู่ระหว่างการส่งผลงานเข้าประกวด นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ สวพ.ทร. ผ่านการนำเสนอผลงานเรียบร้อย รอการประกาศผลรางวัล
เอกสารประกอบ
1. เอกสารนำเสนอ
2. คู่มือกระบวนการจัดการความรู้
3. คู่มือโปรแกรมควบคุมการเบิกคืนสรรพาวุธ
Attachments






